ทักทายกันก่อนสักหน่อย สำหรับพี่น้องคนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่าช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของทุก ๆ ท่านนะครับ พรุ่งนี้ก็เป็นวันตรุษจีนแล้ว ( 1 กุมภาพันธ์ 2565 ) ขอเริ่มต้นบทความที่เป็นบันทึกของคนจัดทำข้อมูลกันในช่วงดี ๆ แบบนี้ ช่วงที่พวกเรามีแต่ความสุขกัน หลายท่านคงได้รับซองสีแดง ๆ กันแล้ว ก็คงชื่นมื่นมีความสุขนะครับ พวกเราก็มีความสุขครับ เพราะวันนี้เพิ่งได้รับเงิน ฉ.11 ถึงแม้จะไม่มากมาย แต่ก็การเติมเต็มหัวใจให้กัน อย่างน้อยก็มีเงินซื้อของไปฉลองกันในตอนเย็นของวันนี้กันนะครับ
ขอเกิ่นก่อนนะครับว่า เว็บไซต์นี้ไม่ใช่เว็บหลักของหน่วยงาน ดังนั้นผมในฐานะ Admin ก็ไม่ได้ซีเรียสเรื่องความเป็นทางการมากมายนัก เนื้อหาหลักก็จะไปแนวนำเสนอข้อมูล สถิติต่าง ๆ ที่เคยได้รับการร้องขอมาบ่อย ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ สามารถเข้ามานำเอาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ต่อไปได้เลย
“งานพัฒนาการรหัสโรคและหัตถการ” เป็นหน่วยงานระดับต้น สังกัดกลุ่มงานดิจิทัลทางการแพทย์ กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบสุขภาพ ซึ่งกลุ่มภารกิจนี้เป็นภารกิจน้องใหม่ เพิ่งจะมีการประกาศแยกออกมาเป็นอีกหนึ่งภารกิจได้ไม่นานมานี้เองครับ ซึ่งเดิมก็ทีก็จะอยู่ภารกิจวิชาการและการแพทย์ โดยจะรวมเอากลุ่มงานที่สนับสนุนวิชาการทั้งหมด เทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์ HA งานวิจัยและถ่ายทอดเทนโนโลยี และ งานเวชระเบียนและสถิติ(เป็นเพียงงานเดียวที่ยังอยู่ทั้งงานบริการ และBackOffice )
งานพัฒนาการให้รหัสโรคและรหัสหัตถการ เดิมทีเป็นหน่วยงานเดียวกันกับงานเวชระเบียนและสถิติ ซึ่งหากเป็นหน่วยงานขนาดเล็กก็อาจจะอยู่ในงานเดียวกัน แต่เนื่องจากปัจจุบันงานการให้รหัสโรคฯ มีความสำคัญต่อรายรับของโรงพยาบาล ในด้านการมีผลต่อการคำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่เรียกว่า Adjust RW หรือค่าน้ำหนัก(RW) ทำให้ต้องแยกออกมาเพื่อเป็นงานเฉพาะด้านโดยมีเจ้าหน้าที่เวชสถิติทำหน้าที่หลัก และมีหน้าที่รองคือการสนับสนุนข้อมูลสถิติให้กับทางโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานของเราก็ทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างเข้มแข็งในทั้ง 2 ภารกิจ ไม่ว่าจะเป็น การให้รหัสฯ และการบริการข้อมูล อันจะเห็นได้ถึงความก้าวหน้าในค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่สูงขึ้นเป็นลำดับจากค่า CMI เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานด้านโรคมะเร็งด้วยกัน หรือขยายขอบข่ายของการบริการข้อมูล ไม่ได้เป็นเพียงการตั้งรับอีกแต่ต่อไป โดยนำเสนอข้อมูล สถิติที่เป็นประโยชน์ และเข้าถึงได้อย่างง่ายตลอด 24 ชั่วโมง(ในรูปแบบเว็บไซต์) และเทคโนฯใหม่ ๆ ในอนาคต
ปัจจุบันจะเห็นข้อมูล สถิติ สารสนเทศ ที่เป็นผลงาน จากการประมวล วิเคราะห์ และนำเสนอ ไปปรากฏบนบทความ งานวิจัย และการนำเสนอทั้งระดับหน่วย ระดับโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งระดับสากลในหลาย ๆ โอกาสที่ผ่านมา ซึ่งนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของพวกเราที่ได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จเหล่านั้น พวกเราจะเคียงข้างและเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างเต็มใจและยินดียิ่งตลอดไป
ก็ขอแนะนำคร่าว ๆ เบื้องต้นเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วกลับมาเจอกันใหม่ ในบทความหน้า ขอขอบพระคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่าน ขอบพระคุณครับ