รายงานค่า cmi ผู้ป่วยใน กลุ่มโรงพยาบาลโรคมะเร็ง ปีงบประมาณ 2564 (ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 ) โรงพยาบาลในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนระบบ his เกือบทั้งหมดเป็นระบบ Paperless โดยการบันทึกข้อมูลทุกอย่างลงในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรงนี้มีส่วนดีคือ แพทย์สามารถลงการวินิจฉัยและการรักษาได้ทันที สามารถตรวจสอบค่า DRGs เบื้องต้นได้ ซึ่งหากลงครบถ้วนถูกต้อง จะทำให้น้ำหนักสัมพัทธ์ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องใช้เจ้าหน้าที่ผู้ให้รหัสทำการ Audit เพื่อให้การลงรหัสมีความถูกต้องตามข้อกำหนดของการลง icd10 , icd9cm จึงจะสามารถประมวลผลค่า adjRW ได้สมบูรณ์
cmi จึงเป็นตัวชี้วัดสะท้อนคุณภาพการบันทึกการวินิจฉัย และการรักษาได้ส่วนหนึ่งว่ามีความครอบคลุม ครบถ้วนหรือไม่ อันจะนำไปสู่การเบิกค่าใช้จ่ายได้มากและเหมาะสมที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อรายรับของโรงพยาบาลด้วย รายรับ = adjRW x rate จ่าย (ในเขต,นอกเขต)
จากรายการนี้หากเปรียบเทียบตัวเลขจำนวนผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล จะพบว่า โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี มากที่สุด จำนวน 2,088 ราย และโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฏรธานี น้อยที่สุดคือ 638 ราย
แต่หากเปรียบเทียบค่า cmi จะพบว่าโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ยังคงมีค่า cmi สูงที่สุด 3.25 รองลงมาคือโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ขยับขึ้นมาอันดับ 2 แทนสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จากเดิมปี 2563 ค่า cmi 2.91 เป็น 3.00 ส่วน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ขยับลงไปเป็นอันดับ 3 จากเดิมปีงบ 2563 ค่า cmi 2.94 ลดลงเหลือ 2.88 ในปีงบ 2564 นี้ ส่วน รพ.มะเร็งอุบลราชธานี cmi ดีขึ้นแต่ไม่มากจากเดิม(งบ2563) 2.68 ปรับขึ้นเป็น 2.74
หมายเหตุ ค่า cmi = ผล adjRW ผู้ป่วยในทั้งหมด หารด้วย จำนวนผู้ป่วยใน