เนื่องจากปัจจุบันระบบการเบิกชดเชยการให้บริการผู้ป่วยในแทบจะทุกกองทุน ใช้ระบบ DRGs เป็นส่วนใหญ่ ก็คือค่า adjRW x ค่าบริการ (ในเขต – นอก) ซึ่งหน่วยบริการก็จะได้รับเงินค่าตอบการให้บริการประมาณการดังนี้ ดังนั้น cmi หรือ ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว(adjRW) / ราย หรือค่า cmi สามารถสะท้อนคุณภาพของการรักษา หรือคุณภาพของการบันทึกการดูแลรักษาผู้ป่วยได้เป็นส่วนหนึ่ง หากทำได้ดีค่า cmi ก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึงระดับหนึ่ง
จากการกราฟจะเห็นว่าค่า cmi ของโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี มีแนวโน้วสูงขึ้นเรื่อย ๆ และค่อนข้างมีความชันมากขึ้นในปีงบประมาณ 2563 – 2564 ส่วนหนึ่งมาจากระบบการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศที่เอื้ออำนวยต่อการบันทึกการดูแลรักษาของแพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ก็สามารถเชื่อมกันเป็นแบบอีเลคทรอนิกส์มากขึ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากระบบ PaperLess หรือการยกเลิกใช้แฟ้มกระดาษของก่อนหน้านี้ รวมไปถึงการส่งเสริมและกระตุ้นการบันทึกทางการแพทย์ที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรม แนวทางการบันทึกเวชระเบียน ซึ่งจัดโดยงานเวชระเบียนและสถิติ กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ ภารกิจพัฒนาระบบสุขภาพ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน ของคณะกรรมการตรวจสอบเวชระเบียน พร้อมส่งผลการตรวจสอบให้ทีมสหวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงแนวทางในการบันทึก รวมถึงความร่วมของแพทย์ พยาบาล และทีมสหวิชาชีพต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือในการทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาในการส่งเบิกด้วย
และหากเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลด้านโรคมะเร็ง ในปีงบประมาณ 2563 – 2564
ก็จะพบว่าโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี มีระดับที่ดีขึ้นค่อนข้างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2564
ดังนั้นหากได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย จะทำให้โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ